ชอบหน้านี้?

ข่าวเอเชีย - เขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่งเปิดฉากการประชุม WAFI ประจำปี 2567

ข่าวประชาสัมพันธ์ - Press Release


ข่าวเอเชีย - เขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่งเปิดฉากการประชุม WAFI ประจำปี 2567
ข่าวเอเชีย - เขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่งเปิดฉากการประชุม WAFI ประจำปี 2567
33.3K เปิดอ่าน

ฟังข่าวนี้

เขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่งเปิดฉากการประชุม WAFI ประจำปี 2567

การประชุม WAFI ประจำปี 2567

ปักกิ่ง, 15 ต.ค. 2567 /ซินหัว-เอเชียเน็ท/ดาต้าเซ็ต

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 11 ตุลาคม 2567 การประชุมนวัตกรรมการเกษตรและอาหารโลก (World AgriFood Innovation Conference หรือ WAFI) ประจำปี 2567 ได้เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ ณ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้านานาชาติทะเลสาบจินไห่ (Jinhai Lake International Convention and Exhibition Center) ที่เขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่ง โดยมีแขกผู้ทรงเกียรติเข้าร่วมเกือบ 800 คนจาก 76 ประเทศและภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง อธิการบดีมหาวิทยาลัย นักการศึกษา ผู้ประกอบการ และตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่โดดเด่นในภาคการเกษตร มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปฏิรูประบบเกษตรและอาหาร

ผู้เข้าร่วมงานได้แบ่งปันความสำเร็จล่าสุดในด้านนวัตกรรมการเกษตร หารือเกี่ยวกับปัญหาท้าทายต่าง ๆ ในแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร รวมถึงมาตรการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทิศทางการปฏิรูประบบอาหารโลกในอนาคต การประชุมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมนวัตกรรมด้านนโยบายและโมเดลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรในระดับโลก สร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ ๆ ในการพัฒนาการเกษตรระดับโลก กระชับความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม วิชาการ และการวิจัย ตลอดจนส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานความสำเร็จ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ปัญญาและพลังในการรักษาความมั่นคงทางอาหารของโลก

จาง ซิงหวัง (Zhang Xingwang) สมาชิกคณะผู้นำพรรคฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีน ได้กล่าวในสุนทรพจน์ว่า รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรมาโดยตลอด โดยส่งเสริมการผนวกรวมกันอย่างลึกซึ้งระหว่างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรกับนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรม จนบรรลุผลสำเร็จได้ในระดับหนึ่งและช่วยสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ทั้งยังทำให้ภาคการเกษตรและชนบททันสมัยขึ้น ขณะที่ทางคณะกรรมการพรรคฯ ประจำปักกิ่งและรัฐบาลท้องถิ่นก็ให้ความสำคัญกับงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ชนบท และเกษตรกร โดยยกให้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นวาระสำคัญ นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างจงกวนชุนภาคเกษตรกรรม (Agricultural Zhongguancun) ทำให้เกิดความก้าวหน้าในแวดวงการเกษตรอัจฉริยะและการเกษตรในโรงเรือนสมัยใหม่ ด้านกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจะเดินหน้าเพิ่มการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ปักกิ่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้นและยิ่งใหญ่กว่าเดิม ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรทั่วประเทศ

เฉิน เจี๋ย (Chen Jie) สมาชิกคณะผู้นำพรรคฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจีน เปิดเผยว่า จีนจำเป็นต้องเร่งเปิดกว้างในด้านการศึกษาทางการเกษตรและป่าไม้ โดยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเกษตรของจีนกระชับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และองค์กรชั้นนำระดับโลกอย่างล้ำลึก ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ เพื่อนำเสนอประสบการณ์ของจีนและให้การสนับสนุนด้านบุคลากร เพื่อพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรระดับโลก พร้อมสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระดับสูง

หมู่ เผิง (Mu Peng) รองนายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่ง เปิดเผยว่า ปักกิ่งจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร เสริมสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา และบุคลากรอย่างเต็มที่ ปักกิ่งจะปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการคิดค้นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างจงกวนชุนภาคเกษตรกรรมให้เป็นผู้นำระดับโลก นอกจากนี้ จะส่งเสริมการผสานรวมอย่างลึกซึ้งระหว่างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรกับนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งสร้างเมืองหลวงแห่งอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์และเร่งพัฒนาระบบอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ ปักกิ่งยังหวังที่จะขยับขยายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง มีส่วนร่วมในเครือข่ายนวัตกรรมระดับโลกอย่างจริงจัง และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูง เพื่อสร้างแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้น ให้บุคลากรด้านการเกษตรทั่วโลกได้สร้างสรรค์นวัตกรรมและเริ่มต้นธุรกิจ

จง เติ้งหัว (Zhong Denghua) เลขาธิการพรรคฯ ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรแห่งประเทศจีน และสมาชิกสภาวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติจีน ชี้ให้เห็นว่า การปฏิรูประบบเกษตรและอาหารเพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกนั้น ได้กลายเป็นสิ่งที่ทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันไปแล้ว มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งประเทศจีนมุ่งส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในระดับโลกมาโดยตลอด โดยริเริ่มสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคอุตสาหกรรม การศึกษา และการวิจัยในระดับโลก ตลอดจนการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้งผ่านการประชุม WAFI นี้ ทางมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จอย่างมากในการร่วมพัฒนาบุคลากร และจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสูงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรชั้นนำทั่วโลก

ในพิธีเปิดการประชุมครั้งนี้ เบธ เบคดอล (Beth Bechdol) รองผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้เปิดตัว "รายงานนวัตกรรมการเกษตร" ซึ่งวิเคราะห์แนวโน้มและประเด็นร้อนล่าสุดในแวดวงนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรทั่วโลก ขณะที่อิสมาฮาเน เอลูอาฟี (Ismahane Elouafi) ผู้อำนวยการใหญ่กลุ่มที่ปรึกษาด้านการวิจัยการเกษตรระหว่างประเทศ (CGIAR) ได้เผยแพร่รายงาน "แนวโน้มในขอบข่ายสำคัญของการวิจัยและนวัตกรรมทางการเกษตรในอนาคต" ส่วนฌอง-ฌัก มโบนิกาบา มูฮินดา (Jean Jacques Mbonigaba Muhinda) ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคของพันธมิตรเพื่อการปฏิวัติสีเขียวในแอฟริกา (AGRA) ได้นำเสนอ "รายงาน AGRA"

ซุน ฉีซิน (Sun Qixin) ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์สนับสนุนนวัตกรรมในอนาคตที่มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งประเทศจีนว่า พลังนวัตกรรมใหม่ที่มีจงกวนชุนภาคเกษตรกรรมผิงกู่เป็นตัวชูโรงนั้น กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยโครงการท่าเรือนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ซึ่งจะก่อสร้างในเขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่ง ก็ใกล้จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างและคาดว่าจะเปิดดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2571 โครงการนี้จะรวมขุมพลังด้านการวิจัยและนวัตกรรมชั้นยอดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบสำหรับการปฏิรูประบบเกษตรและอาหารของโลก และการพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมการเกษตรแบบบูรณาการในอนาคต ขณะที่เฉิง เจี๋ย (Cheng Jie) ประธานบริษัท Dong'e Ejiao จำกัด ได้เปิดตัว "แพลตฟอร์มนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีห่วงโซ่อุตสาหกรรม TCM นานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งประเทศจีน - Dong'e Ejiao" ส่วนหยู หมินหง (Yu Minhong) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ New Oriental Education & Technology Group ได้นำเสนอรายงานในหัวข้อ "การไลฟ์สตรีมสินค้าเกษตรเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูชนบท"

ในระหว่างการประชุมนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์จงกวนชุนภาคเกษตรกรรมในเขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่งด้วย ซึ่งมีการจัดประชุมใหญ่ 4 ครั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่หัวข้อสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงทางอาหาร การยกระดับระบบเกษตรและอาหารสู่แนวทางคาร์บอนต่ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการเสริมพลังให้กับเกษตรกรรายย่อย

การประชุมครั้งนี้มีสโลแกนว่า "นวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคตร่วมกัน" ซึ่งมุ่งเน้นในหัวข้อ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปฏิรูประบบเกษตรและอาหาร" โดยจัดในรูปแบบ "1+5+N+1" ประกอบด้วยพิธีเปิดและการประชุมใหญ่ การประชุมเฉพาะทาง 5 หัวข้อ การประชุมย่อยหลายครั้ง และงานแสดงเทคโนโลยีการเกษตรโลก (World AgriTech Expo)

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันกิจกรรมก่อนการประชุมนั้น มีการจัดประชุมย่อยหลายครั้งที่ศูนย์การประชุมนานาชาติของมหาวิทยาลัยเกษตรแห่งประเทศจีน รวมถึงการประชุมเรื่อง "นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่คาร์บอนต่ำ" และ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: นวัตกรรมล้ำสมัยเพื่อช่วยปรับตัวและบรรเทาผลกระทบในภาคการเกษตร" ส่วนในวันที่ 10 ตุลาคม การประชุมนี้ได้จัดให้มีการประชุมเฉพาะทาง 5 หัวข้อ ได้แก่ การประชุมสุดยอดอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรโลก การประชุมสุดยอดนวัตกรรมและการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารพร้อมงานแสดงนวัตกรรม การประชุมสุดยอดผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร การประชุมสุดยอดว่าด้วยการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างประเทศ และการประชุมเยาวชนเกษตรโลก ทั้งยังมีการประชุมย่อยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโปรตีนใหม่และการปฏิรูประบบเกษตรและอาหาร การประชุมนานาชาติด้านการเกษตรอัจฉริยะ และการประชุมสุดยอดนวัตกรรมการเกษตรสำหรับสตรีสากล นอกจากนี้ ยังมีการจัดประชุมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า และการพัฒนาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคการเกษตรระหว่างจีนกับบราซิลด้วย

ในวันเปิดการประชุมยังมีการจัดประชุมพิเศษเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรระหว่างจีนกับแอฟริกา โดยเชิญเจ้าหน้าที่รัฐบาลจากประเทศในแถบแอฟริกาเกือบ 60 ราย รวมถึงผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ ผู้แทนทางการทูตในจีน และตัวแทนจากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และหอการค้า เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับปัญหาท้าทายต่าง ๆ และโอกาสในการร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรระหว่างจีนและแอฟริกา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมการเกษตรของทั้งสองฝ่ายให้ก้าวหน้าไปด้วยกัน

นอกจากการประชุมนี้ยังมีการจัดงานแสดงเทคโนโลยีการเกษตรโลก ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดง 6 ส่วนหลัก ได้แก่ โซนนานาชาติ โซนแสดงผลงานเกษตรกรรมสมัยใหม่ โซนเทคโนโลยีการเกษตรแห่งอนาคต โซนบริษัท โซนนำเสนอความก้าวหน้าในการพัฒนาปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย และโซนสถาบันวิจัย โดยมีผู้ร่วมนำเสนอกว่า 100 ราย รวมถึง Beidahuang, Dong'e Ejiao, ShouNong, Case New Holland, WBCSD, Oriental Selection และ Bayer ซึ่งได้ร่วมนำเสนอผลงานล้ำสมัย เทคโนโลยีชั้นนำ โมเดลที่ก้าวหน้า โครงการคุณภาพ และผลิตภัณฑ์ที่มีความก้าวล้ำในภาคการเกษตรระดับโลก งานนี้มุ่งมั่นที่จะเป็นงานแสดงสินค้าระดับมืออาชีพที่เป็นแบบอย่างและเป็นสัญลักษณ์ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรระดับโลก

ทั้งนี้ การประชุมนวัตกรรมการเกษตรและอาหารโลก ประจำปี 2567 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีเป้าหมายในการหลอมรวมภูมิปัญญาทั่วโลก รวมพลังในระดับโลก ส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ และร่วมผลักดันการสร้างจงกวนชุนภาคเกษตรกรรมในเขตผิงกู่ โดยมุ่งดึงดูดบุคลากรและโครงการระดับแนวหน้า เพื่อช่วยสร้างกลุ่มนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรที่มีความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ เสริมสร้างอิทธิพลของปักกิ่งในฐานะศูนย์กลางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ และศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนระดับสากล และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการสร้างจีนให้เป็นมหาอำนาจทางการเกษตร

ที่มา : การประชุม WAFI ประจำปี 2567

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย Dataxet Infoquest Admin ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :