ชอบหน้านี้?

ข่าวราชการ, รัฐวิสาหกิจ - “อย. บูรณาการทั้งระบบ สนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพกับแนวทาง 5S”

ข่าวประชาสัมพันธ์ - Press Release


ข่าวราชการ, รัฐวิสาหกิจ - “อย. บูรณาการทั้งระบบ สนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพกับแนวทาง 5S”
ข่าวราชการ, รัฐวิสาหกิจ - “อย. บูรณาการทั้งระบบ สนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพกับแนวทาง 5S”
318.7K เปิดอ่าน

ฟังข่าวนี้

“เปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า” หรือ “CHANGE FOR BETTER” เป็นนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขับเคลื่อนองค์กรด้วยการทำงานอย่างบูรณาการ “สู่องค์กรดิจิทัล” เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัย สนับสนุนผู้ประกอบการให้ก้าวไกล และระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน ด้วยแนวทางปฏิบัติ เพิ่มประสิทธิภาพ 5S ประกอบด้วย 1) Speed 2) Safety 3) Supporter 4) Satisfaction และ 5) Sustainability

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทในการกำกับดูแลทั้งก่อนและหลังออกสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยาเสพติด ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศให้ได้รับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย ภายใต้แนวคิด “CHANGE FOR THE BETTER" เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในด้านต่างๆ ดังนี้

บริการที่ดีกว่า

การคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้น

ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

องค์กรที่ดีขึ้น

และประเทศไทยที่ดีกว่า

อย. มีแนวทางปฎิบัติภายใต้นโยบาย 5S ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ดังนี้

1) Speed : ลดขั้นตอนการให้บริการ นำระบบดิจิทัลมาใช้

2) Safety : บูรณาการระบบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อความปลอดภัยของประชาชน

3) Supporter : สนับสนุนภาคธุรกิจ หรืออำนวยความสะดวกในการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ

4) Satisfaction : ให้บริการแบบมืออาชีพ สร้างความพึงพอใจกับผู้ใช้บริการ

5) Sustainability : สร้างความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์

ทั้งนี้ สำนักงานสำนักงานอาหารและยา อย. จัดนิทรรศการและงานเสวนาประชาสัมพันธ์ อย.กับการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีกว่าด้วยดิจิทัล ภายใต้นโยบาย CHANGE FOR THE BETTER โดยมีการจัดทำนิทรรศการพร้อมทีมเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำเข้าและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ พร้อมการแสดงวิดีทัศน์ การบรรยาย และการเสวนาอภิปรายพิเศษจากผู้บริหาร ในวันที่ 19 กันยายน 2566 เพื่อสื่อสารกับหน่วยงาน องค์กรที่ดำเนินงานด้านการต่างประเทศเกี่ยวกับการนำเข้าและการส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้รับรู้ เข้าใจต่อการบูรณาการพัฒนาทั้งระบบ แนวปฏิบัติ และการพัฒนาช่องทางการพิจารณาและตรวจสอบในการขออนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพขององค์กรฯ เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้มแข็งและความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย อันเป็นอีกหนึ่งปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างยั่งยืน

ข้อมูลเพิ่มเติม

เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (moph.go.th) : https://www.fda.moph.go.th/

เว็บไซต์ กองด่านอาหารและยา : https://logistics.fda.moph.go.th/

  • การนำเข้าเครื่องสำอางเพื่อจำหน่าย (Imported cosmetic for sale) https://logistics.fda.moph.go.th/imported-for-sale/imported-for-sale-cosmetics
  • การนำเข้าเครื่องมือแพทย์เพื่อจำหน่าย (Imported Medical device for sale) https://logistics.fda.moph.go.th/imported-for-sale/%20import-medical-device
  • การนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อจำหน่าย (Importation Herbal for sale) https://logistics.fda.moph.go.th/imported-for-sale/%20herbal-products-import
  • การนำเข้ายาเพื่อจำหน่าย (Importation Drug for sale) https://logistics.fda.moph.go.th/imported-for-sale/%20medicine-import
  • การนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่าย (Imported foods for sale) https://logistics.fda.moph.go.th/imported-for-sale/%20food-import
  • การนำเข้าวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนเพื่อจำหน่าย (Imported Hazardous for sale) https://logistics.fda.moph.go.th/imported-for-sale/harmful-substances
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย Digital Network Revoluation ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :