ชอบหน้านี้?

ข่าวสุขภาพ - อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แนะ 5 เคล็ดลับที่องค์กรสามารถช่วยพนักงานรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม

ข่าวประชาสัมพันธ์ - Press Release


ข่าวสุขภาพ - อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แนะ 5 เคล็ดลับที่องค์กรสามารถช่วยพนักงานรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม
ข่าวสุขภาพ - อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส แนะ 5 เคล็ดลับที่องค์กรสามารถช่วยพนักงานรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม
18.4K เปิดอ่าน

ฟังข่าวนี้

บลู มันเดย์ (Blue Monday) ซึ่งในปี 2566 ตรงกับวันที่ 16 มกราคมนั้น หมายถึงวันที่เศร้าที่สุดของปีและเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับใครหลายคน ในช่วงเวลานี้หลาย ๆ คนกำลังเผชิญกับฤดูหนาวที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นขึ้นและช่วงเวลากลางวันที่หดสั้นลง ซึ่งอาจจะทำให้อ่อนไหวและสะเทือนใจง่ายจนก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder หรือ SAD) รายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า 15% ของผู้ใหญ่วัยทำงานมีปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยในแต่ละปี องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจะสูญเสียจำนวนวันทำงานมากถึง 1.2 หมื่นล้านวันไปกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลของพนักงาน [1] ดังนั้น ปัญหาสุขภาพจิตจึงเป็นประเด็นที่ไม่อาจมองข้ามได้ ทั้งนี้ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) ขอเน้นย้ำถึงความสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงานของตน พร้อมดำเนินการเพื่อที่จะปกป้องและส่งเสริมสุขภาพจิตของพนักงาน

นพ.. จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า “หลังจากช่วงเวลาอันแสนสนุกสนานในเทศกาลปีใหม่ผ่านพ้นไป เป็นเรื่องปกติที่หลาย ๆ คนจะรู้สึกแย่เล็กน้อยในช่วงเวลานี้ของปี และรู้สึกยากลำบากที่จะต้องปรับตัวกลับเข้าสู่โลกการทำงานอีกครั้ง ในขณะที่บางคนอาจจะเผชิญกับแรงกดดันจากครอบครัวหรือด้านการเงินจากช่วงเทศกาล เนื่องจากหลายครัวเรือนต้องรับมือกับค่าไฟ ค่าจำนอง และอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับที่รายงานภาพรวมความเสี่ยงจากอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ประจำปี 2566 (International SOS Risk Outlook 2023) ระบุว่า แรงกดดันด้านค่าครองชีพมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจิตและการทำงานของพนักงานมากที่สุดในช่วงระยะเวลา 12 เดือนต่อจากนี้”

แม้ว่าการทำงานจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยปกป้องและป้องกัน (Protective Factor) สุขภาพจิต แต่อีกนัยหนึ่ง การทำงานก็อาจเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ลงกว่าเดิมได้ด้วยเช่นกัน หากปราศจากความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจากนายจ้างแล้ว ปัญหาด้านสุขภาพจิตอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และทำให้พนักงานลางานบ่อยขึ้น ด้วยเหตุนี้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้พนักงานป่วยทางใจ และส่งเสริมให้ทุกคนดูแลตัวเองจึงถือเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับพนักงานเป็นอย่างยิ่ง

นพ. จามร กล่าวเสริมว่า “ขณะนี้องค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น [2] การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่พนักงานแต่ละคนสามารถยกระดับทักษะ จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการมีสุขภาพจิตที่ดี และการมีความคิดริเริ่มในด้านต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตภายในองค์กรก็ถือเป็นกุญแจสำคัญ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นายจ้างควรทราบคือ พนักงานมักลังเลที่จะปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตกับเพื่อนร่วมงานและผู้จัดการ การที่จะแก้ปัญหานี้ องค์กรควรนำเสนอแนวทางที่หลากหลายซึ่งตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละคน การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี เช่น การให้คำปรึกษาระยะสั้นแบบตัวต่อตัว การสร้างสภาพความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน บริการสายด่วนเพื่อสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง และการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความเครียด ถือเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับพนักงาน [3]”

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ขอแบ่งปันคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตที่ดีของพนักงานท่ามกลางช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับพนักงานบางคน ดังนี้:

  1. สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้างทางอารมณ์ และส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิด – สร้างพื้นที่ ๆ ปลอดภัยสำหรับพนักงานเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยสนับสนุนให้พนักงานกล้าที่จะพูดถึงความรู้สึกออกมาตรง ๆ หากตนเองรู้สึกไม่สบายใจหรือกำลังมีปัญหาที่หนักหนาเกินกว่าจะรับไหว

  1. ส่งเสริมการดูแลตนเอง – องค์กรควรให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลตนเอง เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และเทคนิคการจัดการความเครียด โดยอนุญาตและสนับสนุนให้พนักงานหยุดพักจากการทำงานในระหว่างวัน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และยืดเส้นยืดสายเป็นระยะ ๆ

  1. ให้ความยืดหยุ่น – ในแง่ของเวลาทำงานและสถานที่ทำงาน เพื่อที่จะช่วยให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวตามความต้องการของแต่ละคน

  1. ย้ำเตือนให้พนักงานรู้เสมอว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว – ส่งเสริมให้พนักงานใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการสนับสนุนที่มีอยู่ขององค์กร เช่น การให้คำปรึกษาหรือโครงการช่วยเหลือพนักงาน

  1. มุ่งเน้นไปที่การยกระดับทักษะผู้จัดการสายงานด้วยการฝึกอบรมเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่ดี หรือการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลด้านจิตใจเบื้องต้น – เพื่อให้พนักงานระดับหัวหน้ารับรู้ถึงสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตและรู้วิธีช่วยเหลือพนักงานที่อาจจะมีปัญหา

เกี่ยวกับบริษัทกลุ่มบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส

กลุ่มบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เป็นผู้นำในการให้บริการความช่วยเหลือด้านการแพทย์และความมั่นคงปลอดภัยแก่พนักงานขององค์การต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางแพทย์และความมั่นคงปลอดภัยของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอส การบริการของบริษัท ฯ ช่วยป้องกันและบริหารความเสี่ยงให้แก่องค์กร ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศที่เลวร้าย โรคระบาด ภาวะวิกฤตด้านความมั่นคงปลอดภัย เราให้บริการความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีเพื่อให้คุณอุ่นใจและปลอดภัย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นภาวะปกติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน บริการของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ช่วยให้องค์กรมีความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจและเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอsเอสก่อตั้งในปี 2528 ปัจจุบันให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรทั่วโลกมากกว่า 12,000 บริษัท ได้แก่ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ องค์กรข้ามชาติ องค์กรขนาดกลาง สถาบันการศึกษาและหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร บริษัทฯ มีพนักงานมากกว่า 13,000 คนทั่วโลก ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานและไซต์งานมากกว่า 1,000 แห่งใน 90 ประเทศ ที่ยืนเคียงข้างคุณเพื่อให้ความช่วยเหลือทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดทั้งปี

ดูแลพนักงานของคุณวันนี้ ติดต่อเราได้ที่: www.internationalsos.com

อ้างอิง:

  1. องค์การอนามัยโลก | สุขภาพจิตและการใช้สารเสพติด (Mental Health and Substance Use)
  2. อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส | รายงานภาพรวมความเสี่ยงประจำปี 2566 (Risk Outlook 2023 Report)
  3. อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ฟาวเดชั่น แอนด์ แอฟฟินิตี เฮลธ์ แอด เวิร์ก (International SOS Foundation and Affinity Health at Work) | การบริหารจัดการหน้าที่ในการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานภายใต้รูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน (Managing Duty of Care for Employee Wellbeing within a Hybrid Workforce)

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย iqmedia ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :