สวัสดียามดึก!ส., 25 ม.ค. 6804:39:12 น.
ชอบหน้านี้?

ข่าวพลังงาน, สิ่งแวดล้อม - ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ เผยโมดูล HJT ขนาด 700Wp+ เข้าสู่ยุคของการผลิตในปริมาณมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ - Press Release


ข่าวพลังงาน, สิ่งแวดล้อม - ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ เผยโมดูล HJT ขนาด 700Wp+ เข้าสู่ยุคของการผลิตในปริมาณมาก
ข่าวพลังงาน, สิ่งแวดล้อม - ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ เผยโมดูล HJT ขนาด 700Wp+ เข้าสู่ยุคของการผลิตในปริมาณมาก
11.8K เปิดอ่าน

ฟังข่าวนี้

ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ (Risen Energy) ผู้ผลิตโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นนำในประเทศจีน ประกาศว่า บริษัทกำลังเริ่มผลิตไฮเปอร์ไอออน (Hyper-ion) ซึ่งเป็นโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์แบบเฮเทอโรจังก์ชัน (heterojunction หรือ HJT) ในปริมาณมาก ในการแถลงข่าวที่นครเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยคุณซ่ง อี้เฟิง (Song Yifeng) ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ได้กล่าวสุนทรพจน์หลักเกี่ยวกับความท้าทายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี HJT ระดับอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เขาได้เปิดเผยแผนการของบริษัทในการผลิตโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT ในปริมาณมาก ตลอดจนเน้นย้ำถึงการปรับเปลี่ยนระบบนิเวศผลิตภัณฑ์ n-type HJT พร้อมกับชูการลดต้นทุนและคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นแกนหลักของแผนการพัฒนา

ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ยังได้เปิดเผยแผนเพิ่มกำลังการผลิตโมดูลและเซลล์แสงอาทิตย์ไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT สู่ระดับ 5 กิกะวัตต์ ภายในครึ่งแรกของปี 2566 จากนั้นจะเพิ่มขึ้นอีกสามเท่าเป็น 15 กิกะวัตต์ ภายใน 6 เดือนหลังจากนั้น

นับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ได้ทุ่มลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี HJT การลงทุนเหล่านี้ช่วยให้บริษัทเป็นผู้นำในการปลดล็อกประโยชน์ของเทคโนโลยี n-type HJT และสร้างสรรค์นวัตกรรมบนเส้นทางของการแสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์บรรลุผลสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี

ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ยังได้เปิดตัวโครงการพัฒนาแบบมุ่งเป้าสำหรับวัสดุทำบรรจุภัณฑ์แบบพิเศษ การออกแบบกระบวนการกันน้ำแบบพิเศษ และโซลูชันป้องกันการลดทอน ซึ่งปูทางไปสู่การผลิตโมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT ในปริมาณมาก นอกจากนี้ เทคโนโลยีไฮเปอร์ลิงก์ (Hyper-link) ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร ยังช่วยให้สามารถเชื่อมเซลล์บางเฉียบโดยใช้โลหะเงินเพียงเล็กน้อย จึงช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังรับประกันกำลังการผลิตไฟฟ้าและความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์

นวัตกรรมเทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้โมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT ของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 710 วัตต์สูงสุด (Wp) และมีประสิทธิภาพสูงกว่า 22.5% ซึ่งผ่านการรับรองจากทูฟ ซูด (TUV SUD) นอกจากนั้นยังมีค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิที่เสถียรมาก และค่าประสิทธิภาพของเซลล์สองหน้าสูงถึง 85% บวกลบไม่เกิน 5% ซึ่งสามารถรักษากำลังการผลิตไฟฟ้าให้อยู่เหนือ 90% หลังผ่านการใช้งานนาน 30 ปี โมดูลนี้ได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีเซลล์บางเฉียบ 100 ไมครอนของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ และกระบวนการอุณหภูมิต่ำ ส่งผลให้ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำกว่า 400 kg eq CO2/kWc ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดอย่างมาก

นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับกรอบโลหะทั่วไป กรอบโลหะผสมของโมดูลไฮเปอร์ไอออนแบบ HJT ยังมีความแข็งแรงสูงเป็นพิเศษ พร้อมความสามารถในการทนต่อการฉีกขาดของวัสดุเหล็กที่เพิ่มขึ้น 20% และด้วยความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ยังลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตกรอบเหล่านี้อีกด้วย

ทั้งนี้ งานสัมมนาออนไลน์ "เข้าสู่ยุคเฮเทอโรจังก์ชัน" จะจัดขึ้นในวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 10.00-11.00 น. สามารถลงทะเบียนได้ฟรีที่ https://www.bigmarker.com/pv-magazine-events/pv-magazine-Webinar-Kicking-off-the-heterojunction-era?utm_bmcr_source=pvi

เกี่ยวกับไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่

ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ (Risen Energy) เป็นผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงและผู้ให้บริการโซลูชันการผลิตไฟฟ้าครบวงจรระดับโลก โดยเป็นบริษัทชั้นนำระดับเทียร์ 1 และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ "AAA" บริษัทก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529 ก่อนที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2553 และสร้างมูลค่าให้แก่ลูกค้าทั่วโลก นวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพได้ทำให้โซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัททรงพลังและคุ้มค่าที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทมีรากฐานทางธุรกิจที่มั่นคงและมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เราจึงสามารถสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับเหล่าพันธมิตรเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย และสามารถคว้าประโยชน์สูงสุดจากพลังงานสีเขียวที่กำลังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย iqmedia ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :