ข่าวประชาสัมพันธ์ - Press Release
ฟังข่าวนี้
การประชุมฟิวเจอร์ มิเนอรัลส์ ฟอรัม เตรียมนำเสนอไอเดียสุดทรงพลังที่จะชี้นำทิศทางอุตสาหกรรมการขุดเหมืองในอนาคต ด้วยการทำงานร่วมกันกับสถาบันพันธมิตรการพัฒนา,สถาบันเบคเกอร์เพื่อนโยบายสาธารณะของไรซ์ยูนิเวอร์ซิตี,บริษัทแคลรีโอ และสถาบันเพย์น
การประชุมฟิวเจอร์ มิเนอรัลส์ ฟอรัม (Future Minerals Forum หรือ FMF) ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติที่จัดขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรแร่ของซาอุดีอาระเบีย ได้ประกาศจับมือ 3 พันธมิตรใหม่จากสถาบันคลังสมองและสถาบันวิจัยชั้นนำ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 10-12 มกราคม 2566 ณ กรุงริยาด
FMF ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับ
ด้วยการทำงานร่วมกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและเหล่าผู้ทรงอิทธิพล FMF มุ่งมั่นที่จะกำหนดทิศทางการหารือกันในระดับโลกเกี่ยวกับสินแร่และโลหะต่าง ๆ โดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมบนหลักการด้านสิ่งแวดล้อม,สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ FMF ที่เปิดตัวขึ้นครั้งแรกในปี 2565 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรแร่ของซาอุดีอาระเบีย มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและการขยายโอกาสการทำขุดเหมืองจากแอฟริกาไปยังเอเชียตะวันตกและเอเชียใต้ และในปี 2566 คาดว่าจะมีวิทยากรมากกว่า 200 คนมาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและผู้เข้าร่วมงานหลายพันคนซึ่งเป็นตัวแทนจากมากกว่า 100 ประเทศ
ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้จะประกอบด้วยเหล่าผู้นำในอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีกำหนดจะเข้าร่วมประชุมกันในริยาดเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นที่เร่งด่วนที่สุดที่ภาคสินแร่และโลหะกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ผู้เข้าร่วมงานจะได้เข้าฟังการเสวนาตอบโต้กันในหัวข้อที่สำคัญเช่น วิธีที่ภาคสินแร่และโลหะใช้เพื่อรับประกันการจัดหาแร่ธาตุที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด
ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ความต้องการโลหะที่สำคัญหลายชนิดจะเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าภายในปี 2593 ดังนั้น FMF จึงเตรียมหารือในหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงคำถามที่ว่า บริษัทสินแร่และโลหะต่าง ๆ สามารถรับประกันห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นที่สนับสนุนการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างไร ในขณะที่ต้องลดผลกระทบของอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดไปด้วย
รูปภาพ-https://mma.prnewswire.com/media/1961743/Future_Minerals_Forum.jpg
แสดงความคิดเห็น :