ข่าวประชาสัมพันธ์ - Press Release
ฟังข่าวนี้
ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร เผยผลการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์จากฟอร์ติการ์ด แล็บ (FortiGuard Labs) ทีมงานศึกษาและวิจัยภัยคุกคามไซเบอร์ระดับโลก ถึงภาพรวมของภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าและต่อไปในอนาคต จากการโจมตีแบบ Cybercrime-as-a-Service (CaaS) ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ไปจนถึงการใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่จากเป้าหมายใหม่ๆ เช่น ระบบการประมวลผล (edge) ที่ปลายทาง หรือโลกออนไลน์ต่างๆ จะเห็นได้ว่าปริมาณ ลักษณะที่หลากหลาย ไปจนถึงขนาดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ยังจะทำให้ทีมด้านซีเคียวริตี้ต้องคอยระมัดระวังและเตรียมความพร้อมเป็นอย่างสูงในการรับมือตลอดทั้งปี 2023 และต่อไปในอนาคต
ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจําประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในภูมิภาค และยิ่งมีการปฏิรูปทางดิจิทัลเร็วขึ้นเท่าไหร่ ประเทศไทยจะยิ่งเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางไซเบอร์มากขึ้นเท่านั้น และจากการที่ประเทศไทยมุ่งหน้าสู่แผนงาน Thailand 4.0 ที่ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบโลจิสติกส์จะเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล เมืองจะก้าวสู่การเป็นสมาร์ท ซิตี้ ทำให้ทั้งหมดนี้กลายเป็นเป้าหมายชั้นเยี่ยมสำหรับผู้โจมตี ดังนั้น สิ่งสำคัญอย่างยิ่งทั้งสำหรับประเทศไทยและอุตสาหกรรมต่าง ๆ คือความสามารถในการปกป้องตนเองด้วยสถาปัตยกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม สำหรับทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและ OT รวมถึงเตรียมความพร้อมสำหรับโลกดิจิทัล”
ดร.รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “เมื่อการก่ออาชญากรรมบนไซเบอร์มาบรรจบกับภัยคุกคามต่อเนื่องขั้นสูงที่มีวิธีในการโจมตีที่ล้ำหน้าขึ้น อาชญากรไซเบอร์ค้นพบวิธีที่จะเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ให้กลายป็นอาวุธที่สามารถสร้างการหยุดชะงักและการทำลายล้างขนาดใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น การโจมตีเหล่านี้ไม่เพียงมุ่งเป้าไปที่พื้นที่การโจมตีแบบเดิมๆ แต่รวมไปถึงการโจมตีแบบเจาะลึกลงไปมากกว่านั้น ซึ่งครอบคลุมถึงสิ่งที่อยู่ทั้งด้านนอกและด้านในสภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายแบบเดิมๆ นอกจากนี้ เหล่าอาชญากรยังใช้เวลามากขึ้นในการสอดแนมเป้าหมายเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ สืบเสาะข้อมูล และควบคุม ซึ่งหมายความว่าความเสี่ยงบนไซเบอร์จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรับมือ ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศต้องหูตาไวและมีระเบียบแบบแผนเช่นเดียวกับฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ องค์กรยังจำเป็นต้องยกระดับการป้องกันการโจมตีให้สูงขึ้นด้วยแพลตฟอร์มระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบบูรณาการที่ปกป้องได้ทั่วทั้งระบบเครือข่าย อุปกรณ์ปลายทาง (endpoints) ตลอดไปจนถึงระบบคลาวด์ ในการจัดการภัยคุกคามด้วยศูนย์รวมข้อมูลและช่วยให้การจัดการภัยคุกคามที่เคยมีมาก่อนหน้าเป็นไปโดยอัตโนมัติ (threat intelligence) ควบคู่ไปกับความสามารถในการตรวจจับด้วยการตรวจจับจากพฤติกรรมผู้ใช้ในระดับสูงและความสามารถในการตอบสนอง”
แนวโน้มภัยคุกคามใหม่ในปี 2023 และต่อไปในอนาคต
โดย CaaS นำเสนอรูปแบบที่น่าสนใจให้กับอาชญากรไซเบอร์ที่อาจจะยังไม่ได้มีทักษะที่เก่งมากนักแต่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อเสนอที่มาแบบครบวงจร ทำให้สามารถลงมือได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากรล่วงหน้าในการสร้างแผนการโจมตีด้วยตัวเอง และสำหรับผู้คุกคามที่ช่ำชอง งานรูปแบบใหม่ก็คือบริการสร้างและขายเครื่องมือและแผนการโจมตีแบบ as-a-service ที่ง่าย รวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ใหม่เพื่อหาเงินต่อได้ไม่สิ้นสุด โดยหลังจากนี้ข้อเสนอสำหรับบริการ CaaS อาจเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการดังกล่าว โดยถือเป็นช่องทางเพิ่มแหล่งรายได้ให้กับผู้สร้างระบบ ผู้คุกคามเองก็จะเริ่มใช้ประโยชน์จากรูปแบบการโจมตีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น deepfakes ด้วยวิดีโอและเสียงบันทึก รวมถึงอัลกอริทึมที่เกี่ยวข้องที่มีพร้อมให้ได้ซื้อใช้กัน
หนึ่งในวิธีการป้องกันการโจมตีใหม่ๆ นี้ คือการให้การศึกษาและอบรมเรื่องของความตื่นรู้ทางด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยในหลายองค์กรสร้างโปรแกรมฝึกอบรมด้านความปลอดภัยพื้นฐานสำหรับพนักงาน และควรมีการพิจารณาเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้รับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน เช่น ภัยคุกคามที่ใช้ AI ในการทำงาน
การล่อหลอกอาชญากรไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีลวงจะให้ประโยชน์ นอกจากจะช่วยตอบโต้การทำงานของ RaaS แล้วยังรวมถึง CaaS ในขั้นตอนของการสอดแนมไปด้วย ข้อมูลลวงทางด้านความปลอดภัยบนไซเบอร์มักจะมาคู่กับบริการป้องกันความเสี่ยงด้านดิจิทัล หรือ digital risk protection (DRP) ที่ช่วยให้องค์กรสามารถรู้ทันศัตรูเพื่อสร้างความได้เปรียบในการป้องกัน
การหมั่นศึกษาหาข้อมูลจากภายนอกองค์กร เพื่อหาเบาะแสเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจะมีความสำคัญกว่าที่เคย เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น บริการป้องกันความเสี่ยงด้านดิจิทัล (DRP) มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการประเมินพื้นฐานของภัยคุกคามภายนอก เพื่อค้นหาและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย และเพื่อช่วยให้มีข้อมูลพื้นฐานเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เป็นไปได้ที่การเจาะเพื่อขโมยข้อมูลอัตลักษณ์ทางชีวภาพ (biometric hacking) อาจกลายเป็นจริงได้ เนื่องจากส่วนประกอบที่ขับเคลื่อนด้วย AR และ VR ของเมืองเสมือนจริง ทำให้เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น สำหรับอาชญากรไซเบอร์ในการขโมยแผนที่ลายนิ้วมือ (fingerprint mapping) ข้อมูลการจดจำใบหน้า หรือข้อมูลของการสแกนม่านตา แล้วนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่มุ่งร้าย นอกจากนี้ แอปพลิเคชัน โปรโตคอล และธุรกรรมภายในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ล้วนเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับอาชญากรไซเบอร์ในการโจมตี
ไม่ต้องสนใจว่าจะทำงานมาจากที่ไหน เรียนหนังสืออยู่ที่ใด หรืออยู่ในภาวะดื่มด่ำกับโลกเสมือนจริงที่ไหนก็ตาม ระบบที่ให้ความสามารถด้านการมองเห็น (visibilities) ให้การป้องกัน และการบรรเทาปัญหาแบบเรียลไทม์คือสิ่งสำคัญ พร้อมด้วยการตรวจจับขั้นสูงและดำเนินการตอบสนองในส่วนจุดเชื่อมต่อปลาย หรือ endpoint (EDR) ที่ให้ความสามารถในการวิเคราะห์ การป้องกัน และแก้ไขได้แบบเรียลไทม์
การใช้ inline sandboxing ที่ทำงานด้วย AI คือจุดเริ่มต้นที่ดีในการป้องกันภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์ที่ซับซ้อน รวมถึงมัลแวร์ wiper เพราะสามารถป้องกันการโจมตีที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไฟล์ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยเท่านั้นที่จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทาง หากผสานรวมเข้ากับแพลตฟอร์มความปลอดภัยทางไซเบอร์
แนวโน้มที่เกิดขึ้นมีความหมายต่อผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
โลกของอาชญากรรมไซเบอร์และวิธีการโจมตีของศัตรูทางไซเบอร์ยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ข่าวดีก็คือกลวิธีหลายอย่างที่เหล่าอาชญากรไซเบอร์ใช้ในการโจมตียังคงเป็นรูปแบบที่คุ้นเคย ทำให้ทีมรักษาความปลอดภัยยังสามารถป้องกันได้ดี สิ่งที่ควรทำคือการยกระดับโซลูชันการรักษาความปลอดภัยด้วย แมชชีนเลิร์นนิง (ML) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้สามารถตรวจจับรูปแบบการโจมตีและหยุดการคุกคามได้แบบเรียลไทม์โดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตามโซลูชันระบบรักษาความปลอดภัยแบบแยกนั้นไม่สามารถตอบสนองต่อรูปแบบของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในวันนี้ ระบบที่สามารถดูแลแบบครอบคลุมที่ทำงานอัตโนมัติ เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดความซับซ้อนและเพิ่มความยืดหยุ่นในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังสามารถผสานรวมการทำงานได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ช่วยให้มองเห็นการทำงานในระบบได้ดีขึ้น และตอบสนองต่อภัยคุกคามทั่วทั้งเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ประสานงานและให้ประสิทธิภาพมากขึ้น
แสดงความคิดเห็น :