ชอบหน้านี้?

ข่าวไอที - มองโกเลียเปิดทางรถไฟสายซุนบายัน-ข่านกี มั่นใจช่วยกระตุ้นการส่งออก-เศรษฐกิจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ - Press Release


ข่าวไอที - มองโกเลียเปิดทางรถไฟสายซุนบายัน-ข่านกี มั่นใจช่วยกระตุ้นการส่งออก-เศรษฐกิจ
ข่าวไอที - มองโกเลียเปิดทางรถไฟสายซุนบายัน-ข่านกี มั่นใจช่วยกระตุ้นการส่งออก-เศรษฐกิจ
10.1K เปิดอ่าน

ฟังข่าวนี้

นายแอล. โอยุน-เออร์เดเน (L. Oyun-Erdene) นายกรัฐมนตรีมองโกเลีย ได้ทำพิธีเปิดทางรถไฟสายใหม่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการส่งออกและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ภายใต้ "นโยบายการฟื้นฟูใหม่" (New Recovery Policy) ของมองโกเลีย

ทางรถไฟสายซุนบายัน-ข่านกี (Zuunbayan-Khangi) ทอดยาว 226.9 กิโลเมตรในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมองโกเลีย โดยเชื่อมทางรถไฟทาวานทอลกอย-ซุนบายัน (Tavantolgoi-Zuunbayan) กับจุดผ่านแดนข่านกี-มันดาล (Khangi-Mandal) ข้ามชายแดนมองโกเลีย-จีน

ด้วยการเชื่อมต่อเพิ่มเติมกับทางรถไฟสายใหม่ในฝั่งจีนที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ระยะทางการขนส่งสินค้าข้ามระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญนี้จะลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าขายทรัพยากรแร่ เช่น แร่เหล็ก เป็นต้น

การก่อสร้างทางรถไฟสายซุนบายัน-ข่านกี เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2565 และความสำเร็จของโครงการนี้จะทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าของมองโกเลียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 30% นอกจากนี้ คาดว่าตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ปริมาณการขนส่งสินค้าต่อปีจะมากเป็นสองเท่าของระดับปัจจุบันที่ 10.4 ล้านตัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับภาครัฐและกระตุ้นการจ้างงานในท้องถิ่นได้อย่างมีนัยสำคัญ

นายแอล. โอยุน-เออร์เดเน นายกรัฐมนตรีมองโกเลีย กล่าวภายหลังพิธีเปิดว่า

"ทางรถไฟสายซุนบายัน-ข่านกี สร้างขึ้นโดยใช้เวลาเพียงแปดเดือน ผ่านการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และเป็นเส้นทางใหม่ของมองโกเลียในการส่งออกทรัพยากรแร่ที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้"

"พิธีเปิดในวันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญภายใต้ "นโยบายการฟื้นฟูใหม่" ของรัฐบาลมองโกเลีย ซึ่งมุ่งเน้นที่การเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศหลังสถานการณ์โรคระบาด และผลักดันให้มองโกเลียก้าวขึ้นเป็นประเทศชั้นนำของเอเชียภายในปี 2593"

มองโกเลียไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงต้องพึ่งพาจุดผ่านแดนทางถนน 42 จุดในการค้าขาย อย่างไรก็ตาม ณ เดือนมีนาคมปีนี้ มีเพียง 3 จุดเท่านั้นที่เชื่อมกับทางรถไฟ ความสำเร็จของโครงการนี้ทำให้เกิดทางรถไฟข้ามแดนแห่งที่สองทางตอนใต้ของประเทศ และเป้าหมายของนโยบายการฟื้นฟูใหม่ก็คือ การสร้างความมั่นใจว่าจุดผ่านแดนทั้งหมดเชื่อมกับถนน ทางรถไฟ และทางหลวงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องกัน

ทั้งนี้ บริษัท 180แห่ง และคนงานกว่า 3,500 คน มีส่วนร่วมในการก่อสร้างทางรถไฟโครงการนี้

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1955662/The_Government_of_Mongolia_1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1955663/The_Government_of_Mongolia_2.jpg

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย Media2021 ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :