พีอาร์ นิวส์ไวร์

นิวส์ไวร์ ประเทศไทย x พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CRRC เปิดตัวโซลูชันขนส่งผู้โดยสารอัจฉริยะในงาน InnoTrans ประจำปี 2567

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CISION PR Newswire


ชอบหน้านี้?
พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CRRC เปิดตัวโซลูชันขนส่งผู้โดยสารอัจฉริยะในงาน InnoTrans ประจำปี 2567

ปลดล็อกทุกระดับความเร็วและสภาวการณ์ใช้งานที่หลากหลาย

เบอร์ลิน, 26 ก.ย. 2567 /PRNewswire/

ในงาน InnoTrans ประจำปี 2567 ณ กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี (สแตนด์ 210, ฮอลล์ 4.2) CRRC Corporation Limited ("CRRC", SHA: 601766) นำเสนอไลน์อัพโซลูชันขนส่งผู้โดยสารที่ก้าวหน้าซึ่งครอบคลุมทุกระดับความเร็วและสภาวการณ์ใช้งาน นวัตกรรมเหล่านี้จัดแสดงภายใต้ธีม พร้อมเดินทางสู่อนาคตคาร์บอนต่ำ (On Track for A Low Carbon Future) ในโอกาสนี้ นวัตกรรมเหล่านี้ ตลอดจนแพลตฟอร์มการพัฒนา ได้ดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม


CRRC Unveils Eco-friendly Intelligent Passenger Transport Solutions at InnoTrans 2024, Unlocking Full Speed Levels and Diverse Application Scenarios.

เปิดตัวรถโดยสารความเร็วสูงสำหรับการเดินทางระยะไกล

CRRC ได้เผยโฉมรถรางไฟฟ้า (EMU) อัจฉริยะความเร็วสูงหลายรุ่นที่ออกแบบสำหรับหลายระดับความเร็ว ประกอบด้วย รถรางไฟฟ้าอัจฉริยะความเร็วสูง 350 กม./ชม. รถรางไฟฟ้ารุ่นมาตรฐานความเร็ว 250 กม./ชม. และแพลตฟอร์มรถรางไฟฟ้าแบบรวมศูนย์พลังงาน EMU ความเร็ว 160 กม./ชม. รถรางไฟฟ้ารุ่นเรือธงความเร็ว 350 กม./ชม. มีการออกแบบระบบจัดการการควบคุมรถไฟ (TCMS) การถ่ายทอดกำลังความเร็วสูง ยกระดับสมรรถนะด้วยการวิเคราะห์อัจฉริยะและการช่วยขับขี่ที่ก้าวหน้า ระบบเซ็นเซอร์ของรถไฟสามารถตรวจจับยานพาหนะโดยรอบและสภาพแวดล้อมได้อย่างครอบคลุม ซึ่งเพิ่มความอัจฉริยะในการปฏิบัติการได้เป็นอย่างมาก รถไฟรุ่นนี้เริ่มใช้งานในระบบรถไฟความเร็วสูงจากาตาร์-บันดุง (Jakarta-Bandung High-Speed Railway) เมื่อเดือนตุลาคม 2566 และ ณ กลางเดือนกรกฎาคมในปีนี้ ได้ขนส่งผู้โดยสารแล้วเป็นจำนวนกว่า 4 ล้านคน

บุกเบิกโซลูชันระบบรางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นสำหรับรถไฟที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

CRRC ได้เปิดตัวโซลูชันการขนส่งทางรางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสู่การเคลื่อนที่ที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมถึงรถไฟระหว่างเมืองพลังงานใหม่อัจฉริยะขับเคลื่อนด้วยก๊าซไฮโดรเจน CINOVA (CINOVA H2 New Energy Intelligent Intercity Train) และรถไฟไฮโดรเจนระหว่างภูมิภาคอัจฉริยะอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ความเร็ว 160 กม./ชม. (160 km/h Hydrogen Full-Automatic Intelligent Regional Train) รถไฟเหล่านี้บูรณาการระบบขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจนตลอดทั้งตัวรถ โดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเพื่อบรรลุการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 

สนับสนุนเมืองด้วยเทคโนโลยีรถรางระยะใกล้อัจฉริยะ

CRRC ได้เผยโฉมแพลตฟอร์มนวัตกรรมสำหรับการเดินทางระหว่างเมืองและระหว่างภูมิภาค ประกอบด้วย รถรางไฟฟ้าระหว่างเมือง/ระหว่างภูมิภาคอัจฉริยะใหม่ CINOVA 2.0 (CINOVA 2.0 New Intelligent Intercity/Regional EMU) และรถไฟระหว่างภูมิภาคอัจฉริยะความเร็ว 160 กม./ชม. (160 km/h Intelligent Regional Train) โดยรถรางรุ่น CINOVA 2.0 บูรณาการเทคโนโลยีการขับขี่อัจฉริยะ จึงลดการใช้พลังงานเฉลี่ยต่อหัวเป็นไม่ถึง 0.75 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อร้อยกิโลเมตร ซึ่งดีกว่ารถไฟที่มีอยู่เดิมถึงกว่า 15% ขณะที่รถไฟระหว่างภูมิภาคอัจฉริยะความเร็ว 160 กม./ชม. พลิกนิยามการสัญจรในเมืองด้วยการมอบบริการคล้ายรถบัสที่รวดเร็วและมีสมรรถนะการบรรทุกสูง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการขนส่งผู้เดินทางอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเขตธุรกิจใจกลางเมืองและพื้นที่อื่น ๆ ในมหานครที่มีประชากรหนาแน่น

ส่งมอบโซลูชันการขนส่งทางรางในเขตเมืองที่คุ้มค่าต้นทุนสำหรับความต้องการที่หลากหลาย

CRRC ได้พัฒนาพอร์ตโฟลิโอโซลูชันการขนส่งทางรางในเขตเมืองที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟในเมืองแบบมาตรฐาน รถไฟรางเดี่ยวแบบแขวน รถรางสมัยใหม่ 100% และระบบขนส่งเร็วทางรางอัตโนมัติ (ART) แต่ละโซลูชันต่างออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการสัญจรที่หลากหลาย โดยผลักดันการเคลื่อนที่เขตเมืองสีเขียวไปสู่อีกระดับ ที่โดดเด่นคือระบบ ART ใช้ล้อยางและเทคโนโลยีรางเสมือนเพื่อพลิกโฉมการขนส่งในเขตเมือง โดยทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบจ่ายไฟเหนือศีรษะ พร้อมทั้งเอื้อให้สามารถบูรณาการได้อย่างราบรื่นเข้ากับเครือข่ายการขนส่งสาธารณะสมัยใหม่


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CRRC เปิดตัวโซลูชันขนส่งผู้โดยสารอัจฉริยะในงาน InnoTrans ประจำปี 2567 https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4515432_TH15432_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :