พีอาร์ นิวส์ไวร์

นิวส์ไวร์ ประเทศไทย x พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ไวร์ - หัวเว่ยคว้ารางวัล Digital with Purpose Award จากโซลูชันเพื่อคุ้มครองปลาแซลมอนในนอร์เวย์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CISION PR Newswire


ชอบหน้านี้?
พีอาร์ นิวส์ไวร์ - หัวเว่ยคว้ารางวัล Digital with Purpose Award จากโซลูชันเพื่อคุ้มครองปลาแซลมอนในนอร์เวย์

คาสไคส์, โปรตุเกส, 12 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ -- หัวเว่ย (Huawei) ได้รับรางวัล GeSI Digital with Purpose (DWP) Award ประจำปี 2567 และ DWP Biodiversity Award ประจำปี 2567 เมื่อวานนี้ จากระบบกรองอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองปลาแซลมอนแอตแลนติกจากแหล่งธรรมชาติในนอร์เวย์

จากการพัฒนาภายใต้โครงการริเริ่ม TECH4ALL ของหัวเว่ยร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นอย่าง Berlevåg Hunter and Fishermen's Association (BJFF), Simula Consulting และ Troll Systems โซลูชันที่ได้รับรางวัลนี้สามารถจดจำชนิดปลาที่แตกต่างกันได้และกรองแยกปลาแซลมอนสีชมพู ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานโดยไม่ใช่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองในแม่น้ำนอร์เวย์ และส่งผลเสียหายต่อปลาแซลมอนพันธุ์พื้นเมืองอย่างมาก

"การมอบรางวัลใหญ่ให้กับโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของหัวเว่ยเพื่อคัดกรองปลาแซลมอนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานนั้น เป็นมติเอกฉันท์จากกรรมการทุกคน ไม่เพียงแค่เพราะนวัตกรรมที่ใช้ แต่ยังเพราะสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น ระบบนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นวิธีที่โซลูชันด้านเทคโนโลยีให้ประสิทธิภาพเพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกและการอนุรักษ์ระบบนิเวศ" Luís Neves ซีอีโอของ Global Enabling Sustainability Initiative (GeSI) กล่าว


Huawei receives the DWP Award at the Digital with Purpose Global Summit 2024

"หัวเว่ยให้ความมุ่งมั่นดำเนินโครงการริเริ่ม Digital with Purpose ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 โดยสัญญาว่าจะสร้างขั้นตอนที่นำไปปฏิบัติได้จริงและสร้างความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายที่สร้างผลกระทบที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคมและโลกของเรา" Joyce Liu ผู้อำนวยการ TECH4ALL Program Office ที่หัวเว่ยกล่าว "เทคโนโลยีและความร่วมมือที่ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อโลกของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติด้วย"

ปลาแซลมอนแอตแลนติกจากแหล่งธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญของเอกลักษณ์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของนอร์เวย์ ที่ได้ยอมรับว่ามีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานนี้อย่างเร่งด่วนในระดับประเทศ

ปลาแซลมอนสีชมพูที่ถูกนำเข้าไปในแม่น้ำที่ติดชายแดนนอร์เวย์ในช่วงปี 2503 - 2512 มีวงจรการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วทำให้เกิดจำนวนชนิดพันธุ์รุกรานเพิ่มมากขึ้นในระบบแม่น้ำของนอร์เวย์ปีเว้นปี ที่เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการวางไข่ทุก ๆ สองปี พวกมันจะแข่งแย่งอาหารกับปลาแซลมอนพันธุ์พื้นเมืองอย่างรุนแรง นำเชื้อโรคเข้ามา และเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในแม่น้ำเมื่อปลาเหล่านี้ตายและเน่าเปื่อย ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตในน้ำอื่น ๆ ตายไปด้วย

หลังจากที่หัวเว่ยและพันธมิตรใช้เวลาพัฒนาเป็นระยะสองปี โซลูชันนี้ก็ถูกนำไปใช้ในโครงการนำร่องในแม่น้ำ Kongsfjord และ Storelva ของนอร์เวย์ในปี 2566 โดยสามารถป้องกันไม่ให้ปลาแซลมอนสีชมพูกว่า 6,000 ตัวเข้าไปในแม่น้ำทั้งสองสายในช่วงฤดูการขยายพันธุ์เมื่อปีที่แล้วได้สำเร็จ

"กับดักนี้ได้รับการพัฒนาและทดสอบผ่านหลายช่วงฤดู และเรามั่นใจว่าโซลูชันที่ใช้ AI ของเราคือสูตรความสำเร็จในอนาคต ในจำนวนการระบุตัวหลายพันครั้งที่เราทำได้เมื่อปีที่แล้ว เราสามารถระบุชี้และจับปลาแซลมอนสีชมพูได้ 100% และมีอัตราการระบุตัวโดยรวมที่ 99.98" Geir Kristiansen ผู้จัดการทั่วไปของ BJFF กล่าว

วิธีการทำงานของโซลูชัน

โซลูชันกรองแบบอัตโนมัตินี้ ประกอบด้วยอุโมงค์ที่ขวางแม่น้ำ กล้องใต้น้ำ ประตูอัตโนมัติ และอัลกอริธึม AI ที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อจดจำชนิดพันธุ์ที่แตกต่างกันของปลา เมื่อระบบจำได้ว่าเป็นปลาแซลมอนสีชมพู ประตูก็จะปิดและเบี่ยงทางให้ปลาว่ายไปที่ถังเก็บ ส่วนปลาแซลมอนแอตแลนติกจากแหล่งธรรมชาติและชนิดพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ ประตูจะเปิดเพื่อให้ปลาว่ายน้ำขึ้นไปสืบพันธุ์วางไข่ได้สำเร็จ


The automated gate opens to let wild Atlantic salmon through and divert pink salmon into a holding tank

ก่อนหน้านี้ อาสาสมัครต้องค้นหาปลาแซลมอนสีชมพูด้วยสายตาและจับด้วยมือ ซึ่งเป็นงานที่ใช้เวลาและแรงงานมาก มีความผิดพลาดสูง และส่งผลให้ปลาได้รับบาดเจ็บหรือตายเฉลี่ย 30% ในทางกลับกัน โซลูชันอัตโนมัตินี้สามารถลดจำนวนแรงงานที่ต้องใช้ลงได้ 90% และปลาทุกตัวปลอดภัย

ในโครงการนำร่องที่แม่น้ำ Kongsfjord ระบบกรองดังกล่าวจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเชื่อมต่อด้วย 5G เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ไม่มีแหล่งพลังงานหรือเครือข่ายเชื่อมต่อ ความสำเร็จของโครงการนำร่องเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจะสามารถขยายการใช้งานโซลูชันนี้ไปยังระบบแม่น้ำทุกสายของนอร์เวย์ได้ รวมถึงสถานที่ที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

รางวัล GeSI Digital with Purpose Global Award มีเป้าหมายเพื่อยกย่องและเน้นให้เห็นโซลูชันดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ลดความยากจน เพิ่มการเปิดรับทุกกลุ่มให้เข้าร่วมอย่างหลากหลาย และปกป้องธรรมชาติอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 ของสหประชาชาติ และแนวคิด Half-Earth

เกี่ยวกับ TECH4ALL 

TECH4ALL เป็นแผนปฏิบัติการและโครงการริเริ่มเพื่อการไม่แบ่งแยกทางดิจิทัลระยะยาวของหัวเว่ย ด้วยการสนับสนุนโดยเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและความร่วมมือ TECH4ALL ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการรวมทุกฝ่ายอย่างไม่แบ่งแยกและความยั่งยืนในโลกดิจิทัล

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ TECH4ALL ของหัวเว่ยที่ https://www.huawei.com/en/tech4all

ติดตามเราบนเอ็กซ์ (X) ได้ที่ https://x.com/HUAWEI_TECH4ALL

 

 


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - หัวเว่ยคว้ารางวัล Digital with Purpose Award จากโซลูชันเพื่อคุ้มครองปลาแซลมอนในนอร์เวย์ https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4460136_TH60136_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :