พีอาร์ นิวส์ไวร์

นิวส์ไวร์ ประเทศไทย x พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ไวร์ - มหกรรมเทคโนโลยีและวัสดุการผลิตยานยนต์นานาชาติเซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2567 (AMTS) ชูเทคโนโลยีพลังงานใหม่อัจฉริยะสุดล้ำ และมุ่งในเส้นทางใหม่ของโลกาภิวัตน์

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CISION PR Newswire


ชอบหน้านี้?

เซี่ยงไฮ้, 28 เม.ย. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/

มหกรรมเทคโนโลยีและวัสดุการผลิตยานยนต์นานาชาติเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Automotive Manufacturing Technology & Material Show หรือ AMTS) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2547 เป็นงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นเวทีจัดแสดงสำหรับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์มาเป็นเวลา 19 ปี ปัจจุบันเป็นงานอีเวนท์ที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมวิศวกรรมยานยนต์ระดับนานาชาติ

ครบวงจรตลอดทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานยนต์และพลังงานใหม่

พบกับทั้งห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์และพลังงานใหม่ งาน AMTS ประจำปี 2567 ประกอบด้วย 16 อาคารจัดแสดงซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์การออกแบบ การวิจัยและพัฒนา การประกอบ และการผลิตยานยนต์ บนพื้นที่ 80,000 ตารางเมตร พร้อมรองรับผู้จัดแสดง 1,000 รายจาก 40 ประเทศ ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด ตั้งแต่โครงตัวถัง การออกแบบและการผลิตแม่พิมพ์ การออกแบบและการผลิตภายในและภายนอก การแปรรูปชิ้นส่วน การทำความสะอาดชิ้นส่วน ไปจนถึงการควบคุมคุณภาพ ขณะเดียวกัน ยังจะมีผู้บูรณาการการปั๊ม การเชื่อม การเคลือบ การประกอบขั้นสุดท้าย การแปรรูปทางกล เลเซอร์ การประกอบ และการควบคุมคุณภาพเกือบ 100 รายมาเข้าร่วมเป็นผู้จัดแสดง เพื่อนำเสนอกรณีการปฏิบัติล่าสุดทางวิศวกรรมยานยนต์

โซลูชันตัวถังน้ำหนักเบา เป็นหนึ่งไฮไลท์สำคัญของงาน AMTS ประจำปี 2567 เพราะน้ำหนักที่หายไปทุก 10 กิโลกรัมของยานยนต์พลังงานใหม่สามารถเพิ่มระยะทางขับขี่ได้ 1% ในแง่นี้ วิธีการใช้กระบวนการทำโครงตัวถังที่มีอยู่เพื่อให้ได้ตัวถังยานยนต์ที่น้ำหนักเบาและสวยงาม ซึ่งมีความปลอดภัย มีประสิทธิผล และควบคุมต้นทุนได้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่มาแรงในอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ในด้านกระบวนการเชื่อมโลหะและเชื่อมติดน้ำหนักเบา การขึ้นรูปชิ้นส่วนเหล็กแบบร้อน โซลูชันขึ้นรูปตัวถังแบบบูรณาการ วัสดุใหม่และการวัดสมรรถนะวัสดุ เทคโนโลยีและอุปกรณ์ขึ้นรูปวัสดุผสม โครงช่วงล่างหรือแชสซีน้ำหนักเบา เทคโนโลยีและอุปกรณ์วิศวกรรมอลูมิเนียมและแมกนีเซียม เทคโนโลยีและอุปกรณ์เชื่อมติดหลายวัสดุ เทคโนโลยีชิ้นส่วนหลักน้ำหนักเบาที่รองรับอนาคต การประยุกต์ใช้และการวัดสมรรถนะวัสดุใหม่ ซอฟต์แวร์เครื่องมือออกแบบและการประยุกต์ใช้ทางวิศวกรรมสัมพันธ์จังหวะหรือซิงโครนัส การสร้างโมเดลและการทดลองผลิตและตรวจสอบ ตลอดจนการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติ จะมีการเปิดตัวเทคโนโลยีตัวถังยานยนต์น้ำหนักเบาและผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 3,000 รายการ จึงเป็นที่แน่นอนว่างาน AMTS ประจำปี 2567 จะเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีตัวถังยานยนต์น้ำหนักเบาของอุตสาหกรรม

การเชื่อมโยงแนวดิ่งเพิ่มขึ้นในการผลิตยานยนต์ในจีน

ระบบส่งกำลังพลังงานใหม่ เป็นอีกไฮไลท์สำคัญของงาน AMTS ประจำปี 2567 อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์กำหนดโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแกนหลัก ประกอบกับการแข่งขันทางอุตสาหกรรมในด้านความหนาแน่นของพลังงานแบตเตอรี่และความหนาแน่นของพลังงานมอเตอร์ขับเคลื่อน ขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วจาก "มุ่งเน้นการผลิต" เป็น "มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา" ดังนั้นเพื่อตอบสนองต่อกระแสแนวโน้มการพัฒนาเช่นนี้ของอุตสาหกรรม งาน AMTS ประจำปี 2567 จึงปรับเพื่อช่วยในการทำซ้ำเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในแง่นี้ อาคารจัดแสดงด้านวิศวกรรมระบบส่งกำลังพลังงานใหม่ ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรก ครอบคลุมพื้นที่ 22,000 ตารางเมตร และคาดว่าจะมีผู้จัดแสดง 300 รายจากห้าด้าน ครอบคลุมทั้งแบตเตอรี่ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า การออกแบบระบบส่งกำลัง การวิจัยและพัฒนา การผลิต และกระบวนการทางวิศวกรรม

งาน AMTS ประจำปี 2567 จะจัดขึ้นที่ศูนย์จัดแสดงนานาชาติใหม่เซี่ยงไฮ้ (Shanghai New International Expo Center) ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2567 ขณะนี้เพิ่งเปิดลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับผู้ซื้อทั่วโลกที่ต้องการเข้าร่วมงาน โปรดบันทึกไว้ในปฏิทินและวางแผนการเดินทางไปยังงาน AMTS เซี่ยงไฮ้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.shanghaiamts.com/en


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - มหกรรมเทคโนโลยีและวัสดุการผลิตยานยนต์นานาชาติเซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2567 (AMTS) ชูเทคโนโลยีพลังงานใหม่อัจฉริยะสุดล้ำ และมุ่งในเส้นทางใหม่ของโลกาภิวัตน์ https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4398527_TH98527_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :