พีอาร์ นิวส์ไวร์

นิวส์ไวร์ ประเทศไทย x พีอาร์ นิวส์ไวร์

พีอาร์ นิวส์ไวร์ - ศูนย์พลังงานอาเซียนและหัวเว่ยเปิดตัวสมุดปกขาวเพื่อกำหนดอนาคตการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืน

ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CISION PR Newswire


ชอบหน้านี้?

สิงคโปร์, 18 พฤษภาคม 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 มีการเปิดตัวสมุดปกขาวว่าด้วยการสร้างศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ในอาเซียน (White Paper on Building Next Generation Data Center Facility in ASEAN) ซึ่งจัดทำร่วมกันโดยศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre for Energy: ACE) และหัวเว่ย (Huawei) ที่งานประชุมสถานปฏิบัติการศูนย์ข้อมูลระดับโลก (Global Data Center Facility Summit) ประจำปี 2567 ในสิงคโปร์ สมุดปกขาวฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคอาเซียนเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปล่อยคาร์บอนต่ำเร็วขึ้น

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในภูมิภาคอาเซียน โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลทั่วโลก เกิดความต้องการข้อมูลมหาศาลและการคำนวณขนาดใหญ่ที่ช่วยปลดล็อกศักยภาพในตลาดศูนย์ข้อมูลได้อย่างสูง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเขตร้อนในอาเซียน ศูนย์ข้อมูลจึงต้องใช้ระบบระบายความร้อนจำนวนมาก ใช้พลังงานสูง และมีค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนจึงส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์พลังงาน

ดร. Nuki Agya Utama ผู้อำนวยการบริหารของ ACE กล่าวว่า "สมุดปกขาวฉบับนี้สะท้อนให้เห็นความท้าทายในการติดตั้งและดำเนินงานศูนย์ข้อมูล รวมถึงการอภิปรายอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับแนวโน้มทางเทคโนโลยีและวิธีแก้ปัญหาการใช้พลังงาน การประหยัดค่าใช้จ่าย และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังให้ข้อเสนอแนะด้านนโยบายแก่ตลาดศูนย์ข้อมูล ทั้งตลาดที่เติบโตเต็มที่และตลาดเกิดใหม่เพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลด้วย"

ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ดร. Andy Tirta หัวหน้าฝ่ายกิจการองค์กรของ ACE ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า "นอกเหนือจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ประสิทธิภาพการใช้พลังงานถือเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุผลได้ง่ายที่สุดด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาใช้ สร้างกลไกการเงิน นโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้การสนับสนุน รวมถึงการสร้างมาตรฐานให้เป้าหมายระดับภูมิภาค"

สมุดปกขาวฉบับนี้สรุปลักษณะสำคัญสี่ประการของศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ว่า Reliable (เชื่อถือได้) Simplified (เรียบง่าย) Sustainable (ยั่งยืน) และ Smart (อัจฉริยะ) โดยเรียกร้องให้ใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานในการออกแบบ พัฒนา รวมทั้งดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ศูนย์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

Reliable: การดำเนินงานที่เชื่อถือได้เป็นพื้นฐานสำคัญของศูนย์ข้อมูล การออกแบบโมดูลาร์และการบำรุงรักษาเชิงป้องกันโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยรับประกันความปลอดภัยและเชื่อถือได้ของศูนย์ข้อมูลในทุกระดับ ตั้งแต่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ไปจนถึงระบบ Simplified: สถาปัตยกรรมและระบบควรมีความเรียบง่ายด้วยการหลอมรวมฮาร์ดแวร์ เพื่อตอบสนองต่อขนาดและความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของศูนย์ข้อมูล Sustainable: สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานและสร้างคาร์บอนต่ำที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม Smart: สามารถทำการเปลี่ยนระบบให้เป็นอัตโนมัติด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อจัดการกับความท้าทายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาของศูนย์ข้อมูล

จากข้อมูลในสมุดปกขาวฉบับนี้ การใช้พลังงานสะอาดเพื่อจ่ายพลังงานให้ศูนย์ข้อมูลเป็นวิธีที่ดีในการลดการปล่อยคาร์บอน และแนะนำให้รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนคิดอัตราค่าไฟฟ้าแบบให้ส่วนลด หรือลดหย่อนภาษีให้กับผู้ประกอบการศูนย์ข้อมูลที่ใช้พลังงานสะอาดเป็นแหล่งพลังงานหลัก

การเป็นกลางทางคาร์บอนกลายเป็นฉันทามติทั่วโลก สมุดปกขาวฉบับนี้กำหนดทิศทางให้แก่ภูมิภาคอาเซียนเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ที่เชื่อถือได้ เรียบง่าย ยั่งยืน และอัจฉริยะ หัวเว่ยจะทำงานกับศูนย์พลังงานอาเซียนเพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบอัจฉริยะและปล่อยคาร์บอนต่ำในอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคอาเซียน เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

 


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - ศูนย์พลังงานอาเซียนและหัวเว่ยเปิดตัวสมุดปกขาวเพื่อกำหนดอนาคตการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืน https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4417482_TH17482_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ นิวส์ไวร์ ประเทศไทย


แสดงความคิดเห็น :