ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - CISION PR Newswire
ปักกิ่ง 27 มีนาคม 2568 /PRNewswire/ -- การปลูกหม่อนไหม และการผลิตไหมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ในเขตอี้โจว เมืองเหอฉือ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีนกำลังช่วยให้ท้องถิ่นก้าวเข้าสู่เส้นทางการพัฒนาอุตสาหกรรมคุณภาพสูง
Photo shows the first production line of patterned full-silk Zhuang brocade, a type of indigenous fabric famed for durability, exquisiteness, creative design and intricate patterns, in Guangxi Zhuang Autonomous Region goes into operation. (Source: Integrated Media Center of Yizhou District)
เมืองอี้โจวเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรังไหมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจีน โดยมีทุ่งหม่อนอันเขียวขจีขนาด 26,400 เฮกตาร์ ซึ่งมีผลผลิตรังไหมถึง 109,000 ตันต่อปี
การปลูกหม่อนไหมในท้องถิ่นได้สร้างรายได้ประมาณ 5.6 พันล้านหยวนต่อปี และมีปริมาณการผลิตรังไหมสดในระดับชั้นนำของประเทศติดต่อกัน 19 ปี ซึ่งเห็นได้ชัดเจนผ่านการกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมของเขต
นอกจากนี้ ผู้คนที่เดินเข้าไปในเวิร์คช็อปสาวไหมในท้องถิ่นยังได้พบเห็นอุปกรณ์อัตโนมัติ ซึ่งมาแทนที่อุปกรณ์งานฝีมือแบบดั้งเดิม และได้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพไหม ทั้งยังมีการจดสิทธิบัตรเทคโนโลยี 64 ฉบับ และอุปกรณ์ขั้นสูงเกือบ 70 รายการ
ตัวอย่างเช่น เขตอี้โจวได้ประดิษฐ์เครื่องจักร และเครื่องมือที่สามารถวางหนอนไหมที่โตเต็มวัยลงบนอุปกรณ์ทำรังไหม หรือสกัดรังไหมได้โดยอัตโนมัติ ทั้งยังมีอัตราการใช้เทคนิคขั้นสูง รวมถึงการผสมพันธุ์ไหมขนาดเล็กร่วมกัน และการพันไหมสดในระดับสูงในหมู่ท้องถิ่นที่เทียบเคียงกันของประเทศ
การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมต้องมาควบคู่กับการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างมากมายภายใต้การสนับสนุนจากเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
เขตมีเป้าหมายที่จะสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมรังไหม และไหมที่มีมูลค่าผลผลิตต่อปีถึง 100,000 ล้านหยวน โดยได้ปรับปรุงการก่อสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ และนำเทคโนโลยีขั้นสูงจากในและต่างประเทศมาใช้เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมไหมในท้องถิ่นในระดับไฮเอนด์ เป็นระบบอัจฉริยะ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กี่ทอผ้าที่ทำงานด้วยความเร็วสูง การทอผ้าไหมด้วยเครื่องจักรควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในท้องถิ่นไม่เพียงแต่ช่วยเติมเต็มช่องว่างในการผลิตผ้ายก Zhuang เต็มผืนที่เปี่ยมไปด้วยลวดลายเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ไหมดิบพรีเมียมในท้องถิ่นกลายมาเป็นวัตถุดิบสำหรับแบรนด์หรูระดับสากลอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการนำใบหม่อน กิ่งหม่อน และมูลไหมมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายกับอาหารท้องถิ่น ยา อาหารสัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์ และภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดห่วงโซ่อุตสาหกรรมของเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย
เขตอี้โจวยังเปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ้าไหมหลายเส้นทางผสานรวมรังไหม และอุตสาหกรรมผ้าไหมเข้ากับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างแรงกระตุ้นใหม่ให้กับเศรษฐกิจในท้องถิ่น
เขตจะยังคงส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมกับขยับขยายอุตสาหกรรมไหมในท้องถิ่นต่อไปในอนาคตเพื่อสรรค์สร้างบทใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ
ลิงก์ต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/344913.html
แสดงความคิดเห็น :